โครงการ PANDASIA ได้ดำเนินการเก็บตัวอย่างภาคสนามในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี ประเทศไทย
ตามระเบียบวิธีวิจัยที่กำหนดไว้ ผู้เชี่ยวชาญของทีมวิจัยชุดงานที่ 3 โครงการ PANDASIA ได้ลงพื้นที่เพื่อดำเนินการเก็บตัวอย่างและรวบรวมข้อมูลเชิงลึกที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสในระดับท้องถิ่น ความเป็นไปได้ของการเกิดโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน รวมถึงการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสจากสัตว์สู่คน
ระหว่างวันที่ 1 – 8 เมษายน 2567 ทีมวิจัยชุดงานที่ 3 ของโครงการ PANDASIA ได้ดำเนินการเก็บตัวอย่างร่วมกับทีมวิจัยต่างๆ และหน่วยงานท้องถิ่นที่มีจุดมุ่งหมายสอดคล้องกับโครงการ PANDASIA โดยทีมวิจัยสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง นำโดย ดร. Hans Overgaard หัวหน้านักวิจัยของโครงการ PANDASIA ได้เก็บตัวอย่างยุง แมลง และปลิง ในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี ประเทศไทย ซึ่งทีมวิจัยฯ ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากทีมนักกีฏวิทยาจากศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง จังหวัดจันทบุรี
การเก็บตัวอย่างสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินปริมาณความชุกของยุง แมลง และปลิง บริเวณรอยต่อของระบบนิเวศ เพื่อตรวจหาดีเอ็นเอที่เป็นโฮสต์ของสัตว์ป่าและสัตว์เลี้ยงจากการตรวจเลือดของสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง (iDNA) และระบุไวรัสชนิดใหม่ที่มีศักยภาพในการแพร่กระจายของเชื้อจากสัตว์สู่คนจากการตรวจเลือดเหล่านี้
ขณะเดียวกันทีมวิจัยสัตว์มีกระดูกสันหลังนำโดย ดร.บริพัตร ศิริอรุณรัตน์ จากมหาวิทยาลัยมหิดล ได้ดำเนินการเก็บตัวอย่างสัตว์ฟันแทะ ค้างคาว และสัตว์เลี้ยง
ในช่วงเวลาเดียวกัน ศาสตราจารย์ ดร.พญ.แจ่มใส เพียรทอง จากภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น นำทีมนักไวรัสวิทยาดำเนินการเก็บตัวอย่างสิ่งแวดล้อมอย่างละเอียดซึ่งประกอบด้วยอากาศ น้ำ และตะกอน ในพื้นที่เป้าหมาย 5 แห่ง ได้แก่ หมู่บ้าน ป่าไม้ สวนผลไม้ วัด และบ่อทิ้งขยะ ในพื้นที่อำเภอโป่งน้ำร้อน และอำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี การเก็บตัวอย่างตัวอย่างสิ่งแวดล้อมครั้งนี้ เพื่อนำไปวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ วัตถุประสงค์คือเพื่อศึกษาความคล้ายคลึงของเชื้อไวรัสที่พบในสิ่งแวดล้อมและเชื้อไวรัสที่พบในสัตว์ ทั้งสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังและสัตว์มีกระดูกสันหลัง ซึ่งจะช่วยในการประเมินความเสี่ยงของโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน กิจกรรมการเก็บรวบรวมตัวอย่างทั้งหมดจะช่วยให้เกิดความเข้าใจที่ดีขึ้นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ สัตว์ และสิ่งแวดล้อม เพื่อการสร้างแบบจำลองเพื่อประเมินความเสี่ยงของการแพร่เชื้อโรคจากสัตว์สู่คน และการเกิดโรคอุบัติใหม่ในพื้นที่เสี่ยงสูงของประเทศไทย
กิจกรรมการเก็บรวบรวมตัวอย่างทั้งหมดนี้จะช่วยให้เกิดความเข้าใจที่ดีขึ้นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ สัตว์ และสิ่งแวดล้อม เพื่อการสร้างแบบจำลองเพื่อประเมินความเสี่ยงของการแพร่เชื้อโรคจากสัตว์สู่คน และการเกิดโรคอุบัติใหม่ในพื้นที่เสี่ยงสูงของประเทศไทย การเก็บตัวอย่างครั้งต่อไปจะดำเนินการโดยทีมวิจัยทั้งหมดในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ระหว่างวันที่ 20 – 30 เมษายน 2567