รายละเอียดโครงการ

คำอธิบายโครงการ

PANDASIA ย่อมาจาก  “Pandemic Literacy and Viral Zoonotic Spillover Risk at the Frontline of Disease Emergence in Southeast Asia to Improve Pandemic Preparedness” หรือแปลเป็นไทยว่า  “ความรอบรู้ด้านโรคระบาดและความเสี่ยงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสที่ล้นข้ามจากสัตว์สู่คน ณ แนวหน้าของการอุบัติโรคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อปรับปรุงการเตรียมพร้อมรับมือกับการระบาดใหญ่” โดยได้รับทุนสนับสนุนจากสหภาพยุโรป  (EU) และ UK Research and Innovation (UKRI) ทั้งนี้ วัตถุประสงค์หลักของ PANDASIA คือการรวบรวมข้อมูลทางสังคมและชีวภาพ รวมทั้งจำลองอัตราการแพร่ระบาดของโรคจากสัตว์สู่คนและการอุบัติของโรคในพื้นที่ความเสี่ยงสูงในประเทศไทย เพื่อระบุปัจจัยที่อาจขับเคลื่อนการแพร่ระบาดตามเขตพื้นที่ต่างๆ ตั้งแต่ธรรมชาติ-ชนบท-เมือง ซึ่งความเข้าใจที่ดีขึ้นเกี่ยวกับปฏิสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยขับเคลื่อนต่างๆในระดับทั้งถิ่น จะนำไปสู่การพันฒนากลยุทธ์การเตรียมพร้อมรับมือกับโรคระบาดและมาตรการด้านสาธารณสุข อิงจากหลักฐานอย่างแท้จริง โดย PANDASIA จะใช้ประโยชน์จากความก้าวหน้าของนวัตกรรมการคาดการณ์ เพื่อกำหนด วิเคราะห์ และจำลองศักยภาพของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสจากมุมมองของแนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียว (One Health: OH) และนิเวศสุขภาพ (EcoHealth: EH) การวิจัยและกลยุทธ์ของโครงการจะขึ้นอยู่กับมาตรการและกลยุทธ์การสื่อสารที่ขับเคลื่อนโดยชุมชน เพื่อพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพและการเตรียมพร้อมรับมือกับการแพร่ระบาดของชุมชนท้องถิ่นและหน่วยงานด้านสาธารณสุข คาดว่าการดำเนินการของ PANDASIA จะก่อให้เกิดประโยชน์ในระดับท้องถิ่นและระดับชาติได้ในทันที รวมทั้งจะนำไปสู่ประโยชน์ระยะยาวต่อสังคมในระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ

ระยะเวลาดำเนินโครงการ

PANDASIA ดำเนินการตั้งแต่เดือน มกราคม พ.ศ. 2566 จนถึงเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2570

กรอบเวลา

คลิกที่ปีด้านล่างเพื่อดูกิจกรรมโครงการ

2023
Begins of the PANDASIA project
March - May 2023

Scoping visits and meetings with relevant stakeholders

2023
May - June
May - June 2023

Submit the application for local ethical approvals to conduct research activities with human, domestic and wild animals.

2023
July - September
July - September 2023

Conduct policy analysis and stakeholder mapping.

2023
November
November 2023

Conduct a systematic review to synthesize existing knowledge about human environment interactions, ecosystem functioning, human livelihoods, risk behaviors, and perceptions of relevance for spillover events, disease emergence, and pandemics in the Greater Mekong Subregion (GMS), One Health activities in Thailand, and the CITES database.

2023
November
November 2023

Implement a workshop to discuss results from the policy analysis and stakeholder mapping with relevant stakeholders.

2024
November - March
November 2023 - March 2024

Implement a baseline qualitative data collection and quantitative survey, including blood sampling for virological analysis.

2024
April - September
April - September 2024

Conduct community engagement activities to provide preliminary results to communities and relevant stakeholders.

2024
April - September
April - September 2024

Utilize mathematical modeling to develop ecological, epidemiological and evolutionary conceptual models that enhance understanding of the significance of the general principles and pathways of spillover processes. These will guide the development and analyses of a structurally equivalent, yet more specific, data-driven model.

2025
April - March
April 2024 - March 2025

Prepare and implement a pandemic prevention and preparedness literacy (3PL) intervention to create and test a critical public health measure in order to reduce zoonotic transmission and pandemic risks.

2026
May - September
May - September 2026

Implement an endline quantitative survey.

2027
May - December
May - December 2027

Disseminate the final implementation results and publications of the project.

2566
มีนาคม – พฤษภาคม
เริ่มต้นโครงการ PANDASIA

มีนาคม – พฤษภาคม 2566: ประชุมหารือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดขอบเขตการศึกษา

2566
พฤษภาคม – มิถุนายน
พฤษภาคม – มิถุนายน 2566:

ยื่นขออนุมัติจริยธรรมในท้องถิ่น เพื่อดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ สัตว์เลี้ยง และสัตว์ป่า

2566
กรกฎาคม – กันยายน
กรกฎาคม – กันยายน 2566:
ดำเนินการวิเคราะห์นโยบายและทำแผนที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย  (stakeholder mapping)
2566
พฤศจิกายน
พฤศจิกายน 2566:

ดำเนินการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบเพื่อสังเคราะห์ความรู้ที่มีอยู่เกี่ยวกับปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม การทำงานของระบบนิเวศ การดำรงชีวิตของมนุษย์ พฤติกรรมเสี่ยง และมุมมองต่อความเกี่ยวข้องของเหตุการณ์แพร่กระจายของเชื้อที่ล้นข้ามจากสัตว์สู่คน การอุบัติโรค และการแพร่ระบาดใหญ่ ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง กิจกรรมสุขภาพหนึ่งเดียวในไทย และฐานข้อมูล CITES

2566
พฤศจิกายน
พฤศจิกายน 2566:

จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง เพื่อหารือผลลัพธ์จากการวิเคราะห์นโยบายและการทำแผนที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

2567
พฤศจิกายน – มีนาคม
พฤศจิกายน 2566 – มีนาคม 2567:
ดำเนินการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพและการสำรวจเชิงปริมาณขั้นต้นก่อนดำเนินงานโครงการ  (baseline) รวมถึงการสุ่มตัวอย่างเลือดสำหรับการวิเคราะห์ไวรัสวิทยา
2567
เมษายน – กันยายน
เมษายน – กันยายน 2567:

ดำเนินกิจกรรมสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชน เพื่อให้ผลลัพธ์เบื้องต้นกับชุมชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง

2567
เมษายน – กันยายน
เมษายน – กันยายน 2567:

สร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ เพื่อพัฒนาแบบจำลองเชิงแนวคิดทางนิเวศวิทยา ระบาดวิทยา และวิวัฒนาการ เพื่อส่งเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของหลักการทั่วไปและเส้นทางของกระบวนการแพร่เชื้อล้นข้ามจากสัตว์สู่คน และเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาและวิเคราะห์แบบจำลองที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลที่มีความเทียบเท่าเชิงโครงสร้างแต่เฉพาะเจาะจงยิ่งกว่าเดิม

2568
เมษายน – มีนาคม
เมษายน – มีนาคม 2568:
เตรียมพร้อมและดำเนินงาน 3PL เพื่อสร้างและทดสอบมาตรการสาธารณสุขที่สำคัญ โดยดำเนินมาตรการส่งเสริมความรอบรู้ด้านการป้องกันและการเตรียมพร้อมรับมือการแพร่ระบาดใหญ่  (pandemic prevention and preparedness literacy: 3PL) เพื่อลดความเสี่ยงของโรคระบาดและการแพร่เชื้อจากสัตว์สู่คน
2569
พฤษภาคม – กันยายน
พฤษภาคม – กันยายน 2569
พฤษภาคม – กันยายน 2569: ดำเนินการสำรวจเชิงปริมาณหลังสิ้นสุดการดำเนินงานโครงการ  (endline)
2570
พฤษภาคม – ธันวาคม
พฤษภาคม – ธันวาคม 2570:

เผยแพร่ผลการดำเนินโครงการขั้นสุดท้ายและเอกสารเผยแพร่ต่างๆ

พันธมิตรโครงการ

PANDASIA เกิดจากความร่วมมือของสถาบันชั้นนำ ผู้ปฏิบัติงาน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในสาขาสังคมศาสตร์ มานุษยวิทยา นิเวศวิทยา สัตว์ป่า สัตวแพทยศาสตร์ ไวรัสวิทยา การสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ สถิติและการประเมิน สาธารณสุข และเศรษฐศาสตร์ จากสหภาพยุโรปและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่ง PANDASIA ดำเนินการโดยพันธมิตรสหวิทยาการจากสถาบันดังต่อไปนี้:

Project Partner

PANDASIA เกิดจากความร่วมมือของสถาบันชั้นนำ ผู้ปฏิบัติงาน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในสาขาสังคมศาสตร์ มานุษยวิทยา นิเวศวิทยา สัตว์ป่า สัตวแพทยศาสตร์ ไวรัสวิทยา การสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ สถิติและการประเมิน สาธารณสุข และเศรษฐศาสตร์ จากสหภาพยุโรปและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่ง PANDASIA ดำเนินการโดยพันธมิตรสหวิทยาการจากสถาบันดังต่อไปนี้: