เชื้อราติดแมว: ป้องกันได้อย่างไร
เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา ศูนย์ตรวจวินิจฉัยและวิจัยโรคติดเชื้อแห่งมหาวิทยาลัยบัลปาราอิโซ ( Center for Diagnosis and Research of Infectious Diseases of the University of Valparaíso: CDEIE-UV) ยืนยันพบผู้ป่วยรายแรกที่ติดเชื้อราสปอโรทริกซ์ Sporothrix brasiliensis ในประเทศชิลี
เชื้อราที่ค้นพบในบราซิลนี้พบได้ในแมวเป็นหลักซึ่งสามารถติดต่อจากแมวสู่คนและสัตว์ชนิดอื่นได้
ผู้ป่วยยืนยันรายนี้เป็นหญิงวัย 59 ปีอาศัยในคอนคอนในบัลปาราอิโซ ตามที่ CDIEI อธิบาย ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคสปอโรทริโคซิส (Sporothricosis) ซึ่งเป็นการติดเชื้อที่ทำให้มีรอยโรคที่ผิวหนังและมีสาเหตุมาจากเชื้อรา หญิงรายดังกล่าวเล่าว่าแมวของเธอซึ่งเป็นแมวที่มีการสัมผัสกับแมวตัวอื่นแถวนั้นได้ก็มีรอยโรคแบบเดียวกัน
ภายหลังได้รับการตรวจจากสัตวแพทย์ แมวตัวนั้นถูกการุณยฆาตเนื่องจากมีอาการแทรกซ้อนรุนแรง
How does this fungus get infected in cats? Is it that risky? How to prevent spread in cats? Are there treatments to treat the infection? The third discussed these issues with a specialist. He said that.
ตามข้อมูลของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (Centers for Disease Control and Prevention: CDC) ในช่วงทศวรรษ 1990 มีการพบเชื้อ S. brasiliensis ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศบราซิลใกล้เมืองริโอเดอจาเนโรและเซาเปาโลเท่านั้น ในปีต่อ ๆ มา เชื้อราเริ่มแพร่กระจายอย่างรวดเร็วไปยังภูมิภาคอื่นของประเทศและยังพบที่ประเทศอาร์เจนตินาและปารากวัยด้วย
กีเซลา อะคุนญา สัตวแพทย์จากเครือข่ายบริการสุขภาพสัตว์ คณะสัตวแพทยศาสตร์และการปศุสัตว์ มหาวิทยาลัยชิลีและผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์โรคแมวยืนยันว่า “พบผู้ป่วยที่สังสัยจนถึงผู้ป่วยที่แสดงอาการทางคลินิก (ในประเทศชิลี) มาอย่างน้อยสี่ปีแล้ว” จากการสังเกตพบว่าเชื้อรามักจะเกี่ยวข้องกับรอยโรคที่ผิวหนังในลูกแมว
S. brasiliensis ยังพบได้ในดินบริเวณที่มีการสะสมของพืชที่มักจะพบเน่าเปื่อยบริเวณนั้นและมีสภาพแวดล้อมเอื้อต่อสปอร์ของเชื้อรา
โดยเฉพาะเชื้อราที่ค้นพบในบราซิลนี้ก่อให้เกิดการติดเชื้อเกิดโรคที่เรียกว่าสปอโรทริโคซิส (Sporotrichosis) ซึ่งทำให้เกิดรอยโรคที่ผิวหนังทั้งในสัตว์และในคน ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) อธิบายเพิ่มเติมว่าอาจพบแผลบริเวณจมูกของแมวที่เป็นโรค
แม้ว่าการพบเชื้อรา S. brasiliensis จะสร้างความกังวลต่อประชาชนแต่คุณหมอยังเน้นย้ำประเด็นสำคัญ 2 ประเด็นคืออัตราการพบโรคนี้ยังต่ำอยู่และยังเป็นโรคที่มีวิธีการป้องกันได้
“มีโรคอีกหลายโรคที่พบได้บ่อยกว่าและแมวสามารถติดกลับมาได้หากพวกมันออกไปนอกบ้าน เราขอให้ประชาชนอย่าเพิ่งตระหนกและร่วมมือในการใช้มาตรการป้องกันโรคเสมอ นั่นเป็นสิ่งที่เราควรคำนึงถึง” อะคุนญากล่าว
ตามที่สัตวแพทย์กล่าว การรับแมวมาเลี้ยงหรือการพาแมวที่เราเพิ่งรับมาออกไปเดินเล่นช่วงสั้น ๆ ไม่ส่งผลต่อความเสี่ยงในการติดโรคสปอโรทริโคซิส (Sporotrichosis) หรือการติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อ S. brasiliensis อาจเพิ่มขึ้น “ในขณะนี้ ยังไม่มีหลักฐานว่าลูกแมวจรจัดที่อาศัยอยู่ตามท้องถนนเป็นเป็นจุดสนใจหลักของโรคนี้”
ปัจจัยสำคัญในการหลีกเลี่ยงการเกิดปัญหาคือใช้มาตรการป้องกันซึ่งเป็นส่วนส่วนหนึ่งของ “การอยู่ร่วมกันอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม”
สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการเลี้ยงแมวในระบบปิดซึ่งหมายความว่าพวกมันจะได้รับการเลี้ยงและดูแลภายในบ้านเท่านั้น นอกจากจะช่วยป้องกันพวกมันจากการได้รับโรคนี้และโรคอื่น ๆ แล้ว มันยังต้องทำเพื่อป้องกันอันตรายที่จะพบได้จากภายนอก เช่น การตกใจวิ่งหนีหายไป การถูกวางยาเบื่อ และถูกล่า
มาตรการอื่นที่แนะนำคือ “การสร้างสภาพแวดล้อมจูงใจแมว พาไปรับวัคซีนและถ่ายพยาธิเป็นประจำ ซึ่งเป็นสิ่งที่คนที่เลี้ยงแมวควรทำ เป็นสิ่งที่จะช่วยเราในการป้องกันโรคหลายโรครวมถึงจากเชื้อรานี้ด้วย” อะคุนญากล่าว
แพทย์ยังเน้นย้ำว่าควรพาแมวไปพบสัตวแพทย์อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้งเพื่อตรวจดูว่าอาจมีอาการเจ็บป่วยเริ่มแรกที่เจ้าของสัตว์เลี้ยงไม่ทันได้สังเกตเห็นหรือไม่
การติดเชื้อราชนิดนี้สามารถรักษาได้ทั้งในแมวและคนโดยใช้ยาต้านเชื้อราที่เรียกว่าไอทราโคนาโซลถ้าหากตรวจพบเร็ว
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญยังได้กล่าวว่าการรักษากินเวลานานกว่าปกติที่ใช้สำหรับยาชนิดนี้ เป็นการใช้ในโดสที่ค่อนข้างสูงขึ้น อย่างน้อยก็ในการรักษาในแมว
โรคนี้ทำให้เกิดรอยโรคที่ผิวหนังจึงจำเป็นต้องรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียที่บาดแผลควบคู่กันด้วย โดยแพทย์กล่าวว่า “ต้องใช้ยาปฏิชีวนะด้วยหากจำเป็น รวมถึงยาแก้ปวดด้วยหากมีอาการเจ็บปวด” สิ่งสำคัญคือต้องมีการติดตามผลการรักษาตลอดเวลา
สัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญชี้ให้เห็นว่า สิ่งสำคัญคือต้องใส่ใจพฤติกรรมของลูกแมวนอกเหนือจากการติดเชื้อ S. brasiliensis เป็นเรื่องปกติที่พวกมันไม่ได้แสดงอาการเจ็บป่วยให้เห็นโดยทันทีขึ้นอยู่กับว่าพวกมันเป็นสัตว์ชนิดไหน พวกมันมักจะซ่อนอาการเอาไว้ โดยอะคุนญาสรุปว่า
“หากเราสังเกตเห็นว่าพวกมันไม่ได้แสดงพฤติกรรมตามปกติที่เคยเป็นหรือเลิกพฤติกรรมบางอย่างก็เป็นเหตุผลเพียงพอที่จะไปพบสัตวแพทย์แล้ว ไม่ใช่แค่เรื่องเชื้อรา แต่เป็นเรื่องการเจ็บป่วยทั่วไปที่พวกมันอาจกำลังเป็นอยู่”