จุดมุ่งหมายและการก้าวข้ามความล้ำสมัย
โครงการ PANDASIA มีเป้าหมายหลักในการตรวจสอบและค้นหาปัจจัยที่ส่งเสริมและขับเคลื่อนการแพร่ระบาดของโรค ตามระดับการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ สังคมชนบท และชุมชนเมือง ผ่านบริบทของข้อมูลเชิงสังคมและเชิงชีววิทยา บนแบบจำลองของการพยากรณ์อัตราการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อจากสัตว์สู่คน รวมทั้งการเกิดโรคอุบัติใหม่ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงของประเทศไทย ซึ่งครอบคลุมภารกิจทั้งหมด 7 ด้าน ดังแสดงในรูปที่ 1
รูปที่ 1 ภารกิจของโครงการ PANDASIA
วัตถุประสงค์เฉพาะ
วัตถุประสงค์เฉพาะที่ 1:
เพื่อพิจารณาและติดตามปัจจัยเสี่ยงเชิงสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาที่ส่งผลกระทบต่อการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อจากสัตว์สู่คน โดยเป็นภารกิจในการระบุถึงกลุ่มประชากร การศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ สัตว์ และสิ่งแวดล้อม ปัจจัยขับเคลื่อนด้านโครงสร้างและปัจจัยขีดกั้น รวมทั้งนโยบายที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ศึกษาเป้าหมาย (WP1)
วัตถุประสงค์เฉพาะที่ 2:
เพื่อระบุแหล่งกำเนิด และ/หรือรังโรค ที่อาจจะเป็นสัตว์ป่าและสัตว์เลี้ยงที่มีกระดูกสันหลัง ที่มีความสำคัญต่อการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อในพื้นที่ศึกษาเป้าหมาย รวมทั้งการประเมินถึงการมีอยู่ ความชุกและความหลากลายทางชีวภาพ (WP2)
วัตถุประสงค์เฉพาะที่ 3:
เพื่อประเมินและจำลองผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ผิวดิน สิ่งปกคลุมดิน ภูมิอากาศ และปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ในศตวรรษที่ 20 ต่อความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อจากสัตว์สู่คน (WP2)
วัตถุประสงค์เฉพาะที่ 4:
เพื่อค้นหาและระบุเชื้อจุลชีพที่อาจจะเป็นเชื้อโรคอุบัติใหม่ ซึ่งพบการแพร่ระบาดจากสัตว์ไปสู่คน โดยมุ่งเป้าสู่ไวรัสในกลุ่มที่สามารถติดเชื้อได้ในสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง ที่มีบทบาทสำคัญต่อการเกิดโรคติดเชื้อในพื้นที่ศึกษาเป้าหมาย (WP3).
วัตถุประสงค์เฉพาะที่ 5:
เพื่อพัฒนาแบบจำลองเชิงแนวคิดด้านนิเวศวิทยา ระบาดวิทยา และวิวัฒนาการ ในการเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของหลักการโดยทั่วไปและรูปแบบของการแพร่ระบาดในโรคติดเชื้อจากสัตว์สู่คนรวมทั้งเป็นแนวทางในการพัฒนาและวิเคราะห์แบบจำลองข้อมูลเชิงโครงสร้างสมมูลที่เฉพาะเจาะจง (WP4)
วัตถุประสงค์เฉพาะที่ 6:
เพื่อพัฒนาต้นแบบชุดทดสอบไวรัสแบบรวดเร็ว สำหรับบุคลากรทางด้านการแพทย์และผู้เชี่ยวชาญ สำหรับการระบุการระบาดของโรคติดเชื้อจากสัตว์สู่คนในระยะแรกสุด เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดหรือการแพร่ระบาดในวงกว้าง (WP3)
วัตถุประสงค์เฉพาะที่ 7:
เพื่อสร้างและทดสอบมาตรการทางด้านสาธารณสุขที่สำคัญ – การร่วมป้องกันการแพร่ระบาดและการเตรียมความพร้อมด้านความรู้ของโรคติดเชื้อจากสัตว์สู่คน (3PL) ในการลดการแพร่เชื้อจากสัตว์สู่คนและความเสี่ยงต่อการระบาดใหญ่ (WP5)
ผลลัพธ์และผลกระทบ
นอกจากนี้ ประชาชนจะได้รับประโยชน์จากความเข้าใจที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับภัยคุกคามที่เกิดจากโรคติดเชื้อ การมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในกระบวนการตัดสินใจเกี่ยวกับสุขภาพของตน และความสามารถในการกำหนดนโยบายและกลยุทธ์บนพื้นฐานของการจัดการโรคที่ขับเคลื่อนด้วยความรู้ สิ่งนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งในการควบคุมการแพร่ระบาดและการจัดการเหตุฉุกเฉิน โครงการ PANDASIA ยังมีเป้าหมายและมีส่วนร่วมกับพลเมือง ในการสร้างรูปแบบของการเสริมสร้างศักยภาพในการพัฒนาความรู้ ซึ่งความคิดริเริ่มเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยรวมและสนับสนุนการตัดสินเชิงนโยบายของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง นอกจากนี้ โครงการจะพยากรณ์ข้อมูลเชิงลึกและเครื่องมือจากพื้นที่การศึกษาเพื่อประโยชน์ของประชากรในทวีปยุโรปและประชาคมโลก แนวทางนี้จะช่วยเพิ่มมาตรการรับมือระดับชุมชนท้องถิ่นจนถึงระดับนานาชาติ สำหรับการระบาด การแพร่ระบาดในวงกว้าง และภาวะฉุกเฉิน โดยส่งเสริมแนวทางที่มีประสิทธิภาพทั่วทั้งระบบในภาคส่วนต่าง ๆ
ตารางที่ 1. วัตถุประสงค์เฉพาะและผลลัพธ์การวิจัย
วัตถุประสงค์เฉพาะ |
ผลลัพธ์การวิจัย |
วัตถุประสงค์เฉพาะที่ 1 พิจารณาและติดตามปัจจัยเสี่ยงเชิงสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาที่ส่งผลกระทบต่อการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อจากสัตว์สู่คน โดยเป็นภารกิจในการระบุถึงกลุ่มประชากร การศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ สัตว์ และสิ่งแวดล้อม ปัจจัยขับเคลื่อนด้านโครงสร้างและปัจจัยขีดกั้น รวมทั้งนโยบายที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ศึกษาเป้าหมาย |
ผลลัพธ์การวิจัยที่ 1. ปัจจัยเสี่ยงทางด้านมานุษยวิทยาและสังคมศาสตร์ที่มีบทบาทสำคัญต่อการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ ที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ สัตว์ และสิ่งแวดล้อม ผลลัพธ์การวิจัยที่ 2. นโยบายหลัก ผู้กำหนดนโยบาย และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องกับมาตรการป้องกันและควบคุมความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อจากสัตว์สู่คนจากสัตว์สู่คนในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ ผลลัพธ์การวิจัยที่ 3. ผู้กำหนดนโยบาย ภาครัฐที่เกี่ยวข้อง หน่วยงานท้องถิ่น และชุมชนที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะและรับข้อเสนอแนะสำหรับการประชาสัมพันธ์การป้องกันร่วม |
วัตถุประสงค์เฉพาะที่ 2 การศึกษาเพื่อระบุแหล่งกำเนิด และ/หรือรังโรค ที่อาจจะเป็นสัตว์ป่าและสัตว์เลี้ยงที่มีกระดูกสันหลัง ที่มีความสำคัญต่อการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อในพื้นที่ศึกษาเป้าหมาย รวมทั้งการประเมินถึงการมีอยู่ ความชุกและความหลากลายทางชีวภาพ (WP2) |
ผลลัพธ์การวิจัยที่ 4. การมีอยู่และลักษณะประชากรของสัตว์ป่าที่มีกระดูกสันหลังและสัตว์เลี้ยงในบ้าน |
วัตถุประสงค์เฉพาะที่ 3 เพื่อประเมินและจำลองผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ผิวดิน สิ่งปกคลุมดิน ภูมิอากาศ และปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ในศตวรรษที่ 20 ต่อความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อจากสัตว์สู่คน (WP2) |
ผลลัพธ์การวิจัยที่ 5. การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ผิวดิน สิ่งปกคลุมดิน ภูมิอากาศ และจำนวนประชากรมนุษย์จากอดีต ที่อาจส่งผลต่อภาวการณ์ของการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อจากสัตว์สู่คนที่กำหนดและในเป็นต้นแบบในการศึกษา |
วัตถุประสงค์เฉพาะที่ 4 ค้นหาและระบุเชื้อจุลชีพที่อาจจะเป็นเชื้อโรคอุบัติใหม่ ซึ่งพบการแพร่ระบาดจากสัตว์ไปสู่คน โดยมุ่งเป้าสู่ไวรัสในกลุ่มที่สามารถติดเชื้อได้ในสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง ที่มีบทบาทสำคัญต่อการเกิดโรคติดเชื้อในพื้นที่ศึกษาเป้าหมาย (WP3). |
ผลลัพธ์การวิจัยที่ 6. จัดอันดับรายชื่อไวรัสที่มีความสำคัญในการการแพร่ระบาดจากสัตว์ไปสู่คน ซึ่งสามารถติดเชื้อได้ในเซลล์ของมนุษย์ตามเกณฑ์พิจารณาจากการวิเคราะห์ด้วยคอมพิวเตอร์และการทดลองในห้องปฏิบัติการ ผลลัพธ์การวิจัยที่ 7. ไวรัสที่มีความเสี่ยงในการแพร่ระบาดจากสัตว์สู่คนและลักษณะเฉพาะในสัตว์แต่ละชนิดในพื้นที่การศึกษา ผลลัพธ์การวิจัยที่ 8. ค้นหาและระบุไวรัสเพื่อเป็นข้อมูลเชิงประจักษ์ ในการสร้างแบบจำลองความเสี่ยงที่มีความแม่นยำสูง ผลลัพธ์การวิจัยที่ 9. ไวรัสที่ใช้เป็นเป้าหมายในการพัฒนาชุดตรวจไวรัสสำเร็จรูปแบบรวดเร็ว |
วัตถุประสงค์เฉพาะที่ 5 เพื่อพัฒนาแบบจำลองเชิงแนวคิดด้านนิเวศวิทยา ระบาดวิทยา และวิวัฒนาการ ในการเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของหลักการโดยทั่วไปและรูปแบบของการแพร่ระบาดในโรคติดเชื้อจากสัตว์สู่คนรวมทั้งเป็นแนวทางในการพัฒนาและวิเคราะห์แบบจำลองข้อมูลเชิงโครงสร้างสมมูลที่เฉพาะเจาะจง (WP4) |
ผลลัพธ์การวิจัยที่ 10. แบบจำลองเครือข่ายทางระบาดวิทยาที่มีความยืดหยุ่นสูง กระบวนการที่สำคัญของการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อจากสัตว์สู่คน ผลลัพธ์การวิจัยที่ 11. แบบจำลองเชิงตรรกะทางนิเวศวิทยาที่พัฒนาขึ้นโดยความเชื่อมโยงด้านระบาดวิทยาและวิวัฒนาการของความรุนแรงของการระบาด ผลลัพธ์การวิจัยที่ 12. กรอบร่วมของวิวัฒนาการและระบาดวิทยาในแบบจำลองเชิงพื้นที่เกี่ยวข้องกับพื้นศึกษา |
วัตถุประสงค์เฉพาะที่ 6 เพื่อพัฒนาต้นแบบชุดทดสอบไวรัสแบบรวดเร็ว สำหรับบุคลากรทางด้านการแพทย์และผู้เชี่ยวชาญ สำหรับการระบุการระบาดของโรคติดเชื้อจากสัตว์สู่คนในระยะแรกสุด เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดหรือการแพร่ระบาดในวงกว้าง (WP3) |
ผลลัพธ์การวิจัยที่ 13. ระเบียบวิธีการของ ELISA ที่ได้รับการพัฒนาและใช้เป็นวิธีการมาตรฐานในการทดสอบและตรวจหาเชื้อไวรัสที่มีการแพร่ระบาดจากสัตว์สู่คน ผลลัพธ์การวิจัยที่ 14. ต้นแบบชุดตรวจไวรัสสำเร็จรูปแบบรวดเร็วที่พัฒนาขึ้น ซึ่งมีความไวและความจำเพาะสูงเมื่อเทียบกับวิธี ELISA |
วัตถุประสงค์เฉพาะที่ 7 เพื่อสร้างและทดสอบมาตรการทางด้านสาธารณสุขที่สำคัญ – การร่วมป้องกันการแพร่ระบาดและการเตรียมความพร้อมด้านความรู้ของโรคติดเชื้อจากสัตว์สู่คน (3PL) ในการลดการแพร่เชื้อจากสัตว์สู่คนและความเสี่ยงต่อการระบาดใหญ่ (WP5) |
ผลลัพธ์การวิจัยที่ 15. แนวคิด (เผยแพร่เป็นเอกสารสรุปนโยบายและเอกสารทางวิชาการ) ของความรู้ด้านการป้องกันการแพร่ระบาดและการเตรียมความพร้อมในการรับมือกับโรคติดเชื้อจากสัตว์สู่คน ผลลัพธ์การวิจัยที่ 16. การร่วมป้องกันชนิด 3PL ที่สร้างขึ้นร่วมกัน (ทดสอบในการประเมินผลกระทบเชิงสาเหตุแบบกึ่งทดลอง โดยมีระเบียบวิธีการที่เกี่ยวข้องและเอกสารผลลัพธ์หลัก รวมทั้งบทสรุปเชิงนโยบายและชุดเครื่องมือสำหรับการนำไปใช้ในชุมชนอื่น ๆ) |