ไข้หวัดนกสายพันธุ์รุนแรงคร่าชีวิตนกและสัตว์ทะเลในเปรู โดยพบการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสยังเป็นที่น่ากังวล

ไข้หวัดนกสายพันธุ์รุนแรงคร่าชีวิตนกและสัตว์ทะเลในเปรู โดยพบการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสยังเป็นที่น่ากังวล

ทีมวิจัยซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากสถาบันโรคภูมิแพ้และโรคติดเชื้อแห่งชาติ (National Institute of Allergy and Infectious Diseases: NIAID) ในเปรูได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับการตายของนกและสัตว์ทะเลจากเชื้อไข้หวัดนกสายพันธุ์รุนแรงที่กำลังแพร่กระจายไปทั่วโลก ในอดีตระบบนิเวศชายฝั่งและอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ปีกในอเมริกาใต้ยังไม่เคยประสบปัญหาจากการระบาดของเชื้อนี้มาก่อน

“ไวรัสเหล่านี้กำลังมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วรวมถึงการกลายพันธุ์ที่น่ากังวลด้วย ซึ่งควรมีการตรวจสอบเพิ่มเติมและเน้นย้ำถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการเฝ้าระวังเชิงรุกในพื้นที่เพื่อจัดการการระบาดของโรคและลดความเสี่ยงในการกระจายข้ามสายพันธุ์ไปสู่สัตว์ชนิดอื่นรวมถึงมนุษย์ด้วย” ทีมวิจัยกล่าว

Their study documenting the outbreak was published Sept. 7 in Nature Communications. It was led by Mariana Leguia of Pontificia Universidad Católica del Perú in Peru and EpiCenter for Emerging Infectious Disease Intelligence (Centers for Research in Emerging Infectious Diseases [CREID] Network). หน่วยงานที่ได้ดำเนินงานร่วมกันในโครงการอื่น ๆ ได้แก่ กรมป่าไม้และสัตว์ป่าแห่งชาติเปรู (National Forest and Wildlife Service of Peru) สมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่าโลก (Wildlife Conservation Society) สถาบันสุขภาพหนึ่งเดียว (One Health Institute) และศูนย์สารสนเทศเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (National Center for Biotechnology Information: NCBI) จากสถาบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (U.S. National Institutes of Health: NIH)

การศึกษาระบุถึงเชื้อไข้หวัดใหญ่ชนิด A/H5N1 สายพันธุ์ 2.3.4.4b ที่แพร่กระจายจากยุโรปไปยังอเมริกาเหนือช่วงปลายปี 2564 และมีการระบาดในอเมริกาใต้ปี 2565 เชื้อนี้สร้างความเสียหายต่อประชากรนกธรรมชาติและฟาร์มสัตว์ปีกมาตลอดเส้นทาง นักวิทยาศาสตร์ระบุว่าการวิเคราะห์ของพวกเขาสนับสนุนสมมติฐานว่ามีการพบเชื้อ 2.3.4.4b จากอเมริกาเหนือเข้าสู่เปรูครั้งเดียว ในช่วงเดือนตุลาคม 2565 โดยสันนิษฐานว่าน่าจะเกิดจากการอพยพของนกในธรรมชาติ จากนั้นไวรัสก็มีการแพร่เชื้อไปสู่นกทะเลในพื้นที่เข้ามาอาศัยและหากินในพื้นที่ร่วมกับสัตว์ทะเลชนิดอื่น ๆ

Another recently published NIAID-funded study documents the evolution of the H5 virus over two decades from Europe to North America, prior to its spread to South America. The study—also in Nature Communications—involves St. Jude Children’s Research Hospital, part of NIAID’s Centers of Excellence for Influenza Research and Response (CEIRR) network.

ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2565 นักวิทยาศาสตร์เริ่มรวบรวมข้อมูลสัตว์ที่ตายตามชายฝั่งในประเทศเปรู ได้แก่ โลมา สิงโตทะเล นกคอสั้นตีนไว นกกระทุง และนกกาน้ำ การศึกษาที่เกิดขึ้นทำให้เกิดความร่วมมือใหม่ๆ ระหว่างนักวิจัยได้อย่างรวดเร็วนี้ โดยสามารถค้นพบเชื้อไวรัสไข้หวัดนกชนิดรุนแรง HPAI A/H5N1 ในสัตว์และได้วิเคราะห์ว่าเชื้อไวรัสได้มีการกลายพันธุ์อย่างไรนับตั้งแต่มีพบเชื้อเข้าสู่ทวีปอเมริกาใต้

พวกเขาเฝ้าเฝ้าระวังและติดตามการกลายพันธุ์ของไวรัสตำแหน่งหนึ่ง “เรากังวลเป็นอย่างยิ่งที่มีการพบการปรากฏของโปรตีน PB2 D701N ในตัวอย่างจากสิงโตทะเล 2 ตัวอย่าง และจากเคสผู้ป่วยรายหนึ่งในชิลี เนื่องจากการกลายพันธุ์นี้ถูกเชื่อมโยงกับการปรับตัวติดสู่โฮสต์ที่เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและความสามารถในการติดต่อที่เพิ่มขึ้น”

โครงการนี้ เก็บตัวอย่างได้จากสัตว์ 28 ตัว รวม 69 ตัวอย่าง พบเชื้อไข้หวัดใหญ่ชนิด A จากสัตว์ 12 ตัวได้แก่ โลมา 1 ตัว สิงโตทะเล 4 ตัว ตัวอย่างรวมจากสิงโตทะเล 5 ตัว 1 ตัวอย่าง และจากนกทะเล 6 ตัว นักวิจัยยืนยันว่าเป็นเชื้อไข้หวัดนกชนิดรุนแรง H5N1 จากตัวอย่าง 11 ตัวอย่าง (มีตัวอย่างเสียหายจนไม่สามารถระบุสายพันธุ์ได้ 1 ตัวอย่าง) ทีมวิจัยยังมีความกังวลต่อการที่เชื้อไวรัสจะแพร่สู่สัตว์ที่มีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ เช่น อีแร้งกอนดอร์เขาแอนดีส (Andean Condor) นกเพนกวินฮัมโบลท์ (Humbolt Penguin) และนากทะเล (Sea Otter)

“ที่น่าวิตกไปกว่านั้น” พวกเขากล่าว “คือความเป็นไปได้ในการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสจากสัตว์ไปสู่ประชากรมนุษย์” พวกเขากล่าวว่าจำเป็นต้องมีการรณรงค์เพื่อสร้างการรับรู้ไปสู่สาธารณชนเพื่อแจ้งให้พวกเขาทราบเกี่ยวกับการระบาดของไข้หวัดนกสายพันธุ์รุนแรงและเพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์ที่แสดงอาการป่วย การศึกษาระบุว่า การระบาดในประเทศเปรูเกิดขึ้นตลอดแนวชายฝั่งแปซิฟิกและในช่วงฤดูร้อนซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ประชาชนมีการท่องเที่ยวไปตามชายหาด

การศึกษาวิจัยระบุว่า “ไม่ใช่เรื่องแปลกที่นักท่องเที่ยวที่เดินทางไปเที่ยวชายหาด (และสัตว์เลี้ยงของพวกเขา) จะมีปฏิสัมพันธ์กับสัตว์ที่ป่วยและสัมผัสกับสัตว์โดยไม่ได้ระมัดระวังโดยไม่ทราบถึงความเสี่ยง หรือสำหรับสุนัขที่สัญจรไปมาอย่างอิสระในพื้นที่ชนบทและกึ่งชนบทชายฝั่งจะพบกับอาการป่วย หรือสัตว์ที่ตายแล้วในขณะที่พวกมันหาอาหาร หรือสำหรับสุนัขที่หากินอิสระตามชุมชนชายฝั่งที่จะพบสัตว์ป่วยและซากสัตว์ระหว่างที่พวกมันหากิน”

พวกเขาระบุว่า บุคคลโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ปฏิบัติงานที่มีหน้าที่กำจัดซากสัตว์ต้องได้รับการฝึกอบรมเพิ่มเติมในการใช้อุปกรณ์ป้องกันตัวและการจัดการกำจัดขยะและซากสัตว์ “คนที่สัมผัสกับสัตว์ป่วยและตายที่ติดเชื้อไข้หวัดนกชนิดรุนแรง A/H5N1 ถือว่ามีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อด้วย” นักวิจัยกล่าว “และกรณีในมนุษย์ก็อาจติดเชื้อได้แม้ว่าในช่วงที่ยังไม่เกิดการระบาดจากคนสู่คนให้สังเกตเห็นอย่างชัดเจน”

These studies were funded in part by NIAID awards U01AI151814, 75N93021C00014, 75N93021C00016, HHSN272201400006C, and R01AI150745; and by the NIH’s National Library of Medicine’s Intramural Research Program.

References:

M Leguia, et al. Highly pathogenic avian influenza A (H5N1) in marine mammals and seabirds in Peru. Nature Communications DOI: 10.1038/s41467-023-41182-0 (2023).

A Kandeil, et al. Rapid evolution of A(H5N1) influenza viruses after intercontinental spread to North America. Nature Communications DOI: 10.1038/s41467-023-38415-7 (2023).