ขณะนี้มีรายงานการพบกาฬโรคในกระต่ายแล้ว 17 ตัว และพบการติดเชื้อในคน 11 ราย ในประเทศเยอรมัน
นอกจากนี้ ยังพบพบสัตว์ป่วยและตายในพื้นที่ ประชาชนยังไม่มีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อโรคนี้ People are also not immune to the pathogen.
นับถึงขณะนี้ในปีนี้ (ปลายเดือนสิงหาคม) มีรายงานพบสัตว์ป่วยด้วยกาฬโรคกระต่าย 17 ตัว ไปยังหน่วยงานด้านสาธารณสุขแล้ว 17 ตัว สัตว์ป่วยและตายถูกพบในเมืองไฟรบวร์กและเมืองคาร์ลสรูห์ รวมถึงเขตพื้นที่ราสตาต เนกคาร์-โอดึนไวลด์สไครส์ เอสลิงเกน เอมเมนดิงเกน บูบลิงเกน ราฟเวินบวร์ก ซิกมาร์ริงเกน โบดึนซีกไครส์ ไบรส์กู-โฮคชวาร์สไวด์ ร็อตไวล์ และคอนสแตนซ์
โรคนี้มีอีกชื่อหนึ่งว่า โรคทูลารีเมีย ซึ่งเป็นโรคที่ถูกรายงานว่าพบมากในกระต่ายป่าสีน้ำตาลทางตะวันตกเฉียงใต้ และก็พบได้ในสัตว์ชนิดอื่นรวมถึงนกด้วย ซึ่งสัตว์ที่ป่วยจะตายหลังจากมีอาการป่วยในช่วงเวลาอันสั้น
ผู้คนยังสามารถติดเชื้อกาฬโรคกระต่ายได้เช่นกัน ดังในกรณีที่มีการสัมผัสกับสัตว์ป่วยหรือตาย ตามข้อมูลจากสถาบันโรเบิร์ตค็อก (Robert Koch Institute) พบว่า ภายในปีนี้มีการพบผู้ป่วยที่ป่วยด้วยโรคนี้แล้ว 11 ราย ทางฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ
โดยเชื้อนี้ทำให้เกิดอาการ เช่น ท้องเสีย ปวดตามร่างกาย และอาเจียน ซึ่งสามารถทำให้เกิดอาการที่รุนแรงขึ้นได้อีกด้วย
โรคที่สามารถแพร่จากสัตว์ไปยังคนได้เรียกว่าโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน ตามข้อมูลจากสำนักงานสอบสวนทางเคมีและสัตวแพทย์ในเมืองสตุ๊ตการ์ท พบว่า กาฬโรคกระต่ายเกิดขึ้นในเยอรมันตั้งแต่ปี 2547 และได้มีการเพิ่มจำนวนขึ้นในภาคตะวันตกเฉียงใต้ตั้งแต่ปี 2559